สินค้าของเราคุ้มครองได้ด้วยอะไรบ้าง

Last updated: 19 พ.ค. 2564  |  2282 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สินค้าของเราคุ้มครองได้ด้วยอะไรบ้าง

สินค้าของเราคุ้มครองได้ด้วยอะไรบ้าง

วันนี้ Patent to you จะมาอธิบายให้ฟังว่า สินค้า/บริการของเรานั้นจะคุ้มครองได้ด้วยอะไรบ้าง แล้วแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไร?

อันดับแรกอยากให้ทุกคนเข้าใจก่อนว่า สิ่งที่เรา ประดิษฐ์ คิดค้นหรือสร้างสรรค์ขึ้นมา เราจะเรียกสิ่งนั้นว่า"ทรัพย์สินทางปัญญา'' ซึ่งมีหลายคนเข้าใจว่าทุกอย่างคือ ลิขสิทธิ์ (เรียกติดปากกันว่า จดลิขสิทธิ์ ละเมิดลิขสิทธิ์) แต่ในความเป็นจริงแล้วลิขสิทธิ์เป็นประเภทหนึ่งของทรัพย์สินทางปัญญาเท่านั้น

ถ้าเราอยากขายของของเราที่เราคิดค้นขึ้นมา"เพียงคนเดียว" ไม่ให้ใครมาทำแบบเราได้ เราต้องทำยังไง?

คำตอบง่ายๆคือ เราก็ต้องขอรับความคุ้มครองหน่ะสิ

ทีนี้แต่ละประเภทของทรัพย์สินทางปัญญานั้นก็ขอรับความคุ้มครองไม่เหมือนกัน บางประเภทต้องขอจดทะเบียน บางประเภทได้รับความคุ้มครองอัตโนมัติ

แล้วทรัพย์สินทางปัญญาหลักๆที่คนส่วนใหญ่จดกัน มีอะไรบ้าง

  1. จดสิทธิบัตร

คือการขอรับหนังสือสำคัญที่รัฐออกให้ เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด เช่น การประดิษฐ์หุ่นยนต์ การออกแบบเก้าอี้ เป็นต้น  (ต้องจดเพื่อขอรับความคุ้มครอง)


2. จดเครื่องหมายการค้า

 

คือ การขอรับหนังสือสำคัญที่รัฐออกให้ เพื่อคุ้มครองเครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น บรีส มาม่า กระทิงแดง เป็นต้น

3. ลิขสิทธิ์

คือ สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน เช่น ภาพวาดตัวการ์ตูนโดเรมอน เพลง ภาพยนตร์ หนังสือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น (ได้รับความคุ้มครองอัตโนมัติ แต่จดแจ้งเพื่อเป็นหลักฐาน)

 
ทีนี้เราก็ลองกลับมาดูว่าสินค้าหรือบริการที่เราขายอยู่นั้น เข้าข่ายทรัพย์สินทางปัญญาประเภทไหนหรือไม่
 

สำหรับใครที่อยากติดตามความรู้ดีๆด้านทรัพย์สินทางปัญญาสามารถกด Like กด Share เพจ Patent To You ได้เลยจ้าาา


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้